การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ



ร่างกายของคนเรา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นพัฒนาการที่ดำเนินมาตั้งแต่เกิดไปจนถึงช่วงอายุต่างๆ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว ร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนจากพัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ด้อยลง และเมื่อถึงช่วงวัยสูงอายุ ก็จะกลายเป็นความเสื่อมของร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ เกิดขึ้นจากระบบต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานได้ลดลงไม่ดีเช่นเดิม ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยลง ดังนี้

ด้านร่างกาย
- ร่างกายภายนอก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีกระ ผมบางเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาว หลังโก่ง เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง กำลังน้อยลง
- อวัยวะในการรับความรู้สึก อวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึกจะเสื่อมเป็นอันดับแรกๆ เช่น ผนังเส้นเลือดแดงในหูแข็งตัว ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเสียงแหลมหรือเสียงที่มีความถี่สูง
- เสียง เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีน้ำเสียงสูงแต่ไม่มีพลัง
- ฟัน มีอาการเหงือกร่น รากฟันโผล่พ้นขอบเหงือก ทำให้ฟันผุและเสียงฟันได้ง่าย
- ระบบต่างๆ เช่น ระบบประสาทเซลล์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบการไหลเวียนโลหิต ทำงานได้ลดลง จึงเกิดโรคได้ง่าย
- กระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูกผุกร่อนทำให้หักได้ง่าย กล้ามเนื้อก็ลีบเล็กลง มีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อ

ด้านอารมณ์
โดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีความสงบเยือกเย็น ไม่กระตือรือร้น ต้องการพักผ่อน แต่ด้วยสภาพสังคม สภาพครอบครัวในปัจจุบัน ทำให้สภาพอารมณ์ในผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในหลายลักษณะจากที่ควรจะเป็น ดังนี้
1. บุคลิกแบบต่อต้าน คือพยายามต่อสู้กับความเสื่อมถอยหวาดหวั่นของชีวิตแบบเป็นลักษณะต่างๆ
2.บุคลิกเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น คือ ต้องการได้รับการตอบสนองและการช่วยเหลือจากผู้อื่น
3.บุคลิกแบบการผสมผสาน คือมีความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ แสดงออกถึงความบกพร่องทางด้านความคิดอ่านและภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด จะยังคงอยู่ในสังคมได้ แต่จะมีพฤติกรรมและความพึ่งพอใจต่อชีวิตอยู่ในระดับต่ำ

ด้านสังคม
ในด้านสังคม ผู้สูงอายุในวัยนี้จะมีเวลามากขึ้น ทั้งการทำกิจกรรมที่ชอบ การท่องเที่ยว และเข้าวัด แต่จะมีข้อจำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่ค่อยสนใจผู้อื่นมากนัก แต่จะสนใจตนเองมากขึ้น

ด้านสติปัญญา
วัยสูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและเซลล์ลดจำนวนลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อม แต่ในส่วนความจำในอดีตจะไม่เสีย แต่ความคิดอ่านจะเชื่องช้าลง

ตัวผู้สูงอายุเอง และลูกหลาน ควรใส่ใจในการเปลี่ยนแปลงของตนเอง รวมทั้งปรับตัวกับสภาพที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สุขภาพจิตดี และสุขภาพแข็งแรงสมวัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุกับระบบทางเดินอาหาร

สำหรับวัยสูงอายุนั้น ระบบร่างกายจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช

สีชมพู ดูดี เพิ่มความสดใส และดูไม่แก่

การแต่งกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น อาจมองว่า ตนเองอายุมากแล้ว ไม่ต้องพิถีพิถัน หรือใส่ใ

การเขียนบันทึก ช่วยฝึกความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ

เมื่อผู้สูงวัย มีอาการเบื่ออาหาร

อาการเบื่ออาหาร เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุมักพบเจอ ไม่ว่าจะทานอะไรก็ไม่อร่อย หรือมีความ

ภาวะความชรา และอาการที่พบ เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย

เมื่อคนเราอายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมถอยลง การทำงานต่างๆ ในร่างกายที่เคยทำงานได้

ทำอย่างไร เมื่อนอนไม่หลับ

ปัญหาสำหรับผู้สูงอายุนั้น มีหลายประการ ปัญหาหนึ่งซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิ